วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

หน่วยการเรียนรู้ที่
            จิตวิทยาการเรียนการสอน

ความหมาย จิตวิทยา
      “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
 แนวทางในการศึกษา 
         ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
 จิตวิทยากับการเรียนการสอน 
      จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน 
      1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
      2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
           ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
      3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
      4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ   
           แก้ปัญหาการเรียนการสอน  
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน 
ประการแรก         มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน 
ประการที่สอง      นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
 หลักการสำคัญ 
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จิตวิทยาครู 
ครู  หมายถึง  ผู้สอน  มาจากภาษาบาลีว่าครุ
ภาษาสันสกฤตว่าคุรุแปลว่า หนัก  สูงใหญ่ 
  -  ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
  -  ครูต้องมีความหนักแน่น  สุขุม  ไม่วู่วาม  ทั้งความคิดและการกระทำ
 บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน 
ธีรศักดิ์ (2542) ได้กล่าวถึง 4 ประเด็น ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม
รูปแบบของครู (Models of Teachers) 
Fenstermacher และ Soltis (1992)ได้กล่าวถึงรูปแบบและบทบาทของครู เป็น 3 ประเภท 
1.  The Executive Model                 ทำหน้าที่คล้ายบริหาร
2.  The Therapist Model                มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด
3.  The  Liberationist  Model        ครูที่ให้อิสระผู้เรียนในการเรียนรู้
      Parsons and others (2001) กล่าวว่าครูควรมีหลายบทบาทตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ มิใช่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหา ดังนั้นครูอาจมีบทบาท ดังนี้ 
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->รับผิดชอบการวางแผนการสอนและวัดผล
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ทำหน้าที่ผู้จัดการ  หรือบริหารห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ให้คำปรึกษา  รับฟังความคิดเห็นแก่ผู้เรียน
บทบาทดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของWoolfok และ Nicalich (1980) ที่กล่าวไว้หลายประเด็นและมีคลอบคลุม  ดังนี้ 
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เป็นผู้ชำนาญการสอน  เป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เป็นผู้จัดการ   เป็นผู้นำ
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เป็นผู้ให้คำปรึกษา  
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เป็นวิศวกรสังคม
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เป็นตัวแบบ
 หลักการที่สำคัญสำหรับครู 
          Mamchak and Mamchak  (1981)  ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียน
 การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน 
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น 
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ให้ความยุติธรรมแก่เด็ก อย่างเท่าเทียมกัน
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้ 
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน 
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน 
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน  
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 
ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 
ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี, 2535) 
จิตวิทยาการเรียนรู้
.....การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
พฤติกรรมการเรียนรู้  จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
       1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
       2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
       3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
       4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก.
จิตวิทยาพัฒนาการ
        เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
การรับรู้และการเรียนรู้
       การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นมีลักษณะค่อนข้างถาวร
       หลักของการเรียนรู้ มี 3 รูปแบบ คือ
.....1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก.....2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน และเรย์นอร์ ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11 เดือน.....โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ 5 ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข......3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant conditioning)สกินเนอร์ และ ธอร์นไดค์ เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ ธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์ ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจในแนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้ การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง และข้าง ๆ กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย เอาสีข้างถูกรง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก ๆ นั้น ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ
จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้
.....เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึก
.....จิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
.....จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
.....1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว.....2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส.....3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น.....4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
.....1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ.....2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง.....3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน
.....ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
.....1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง.....2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ.....3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ.....4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
จิตวิทยาการสอนตามวัย
            จิตวิทยาการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี
 เด็กในวันนี้เริ่มที่จะเข้ารับการอบรมสั่งสอนเรื่องของศาสนาได้อย่างเป็นทางการแล้ว 
เราสามารถเริ่มแนะนำให้พวกเขารู้จักองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ โดยผ่านทางเรื่องราวต่างๆ จากพระคัมภีร์ การนำเสนอเรื่องเหล่านี้มิใช่เพื่อให้เกิดความประทับใจหรือเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อและทัศนคติที่มีต่อพระเจ้าในระยะยาวอีกด้วย
             อันที่จริงแล้ว เรื่องราวต่างๆ ในพระคัมภีร์ล้วนแต่เป็นเรื่องที่อมตะ เรื่องที่น่าสนใจและน่าจดจำทั้งนั้น เช่น นอแอ ยอแซฟและพี่น้อง โยนาในท้องปลาวาฬ เป็นต้น
        ดังนั้นบทเรียนหลักๆ สำหรับเด็กในวัยนี้ ควรที่จะมาจากเรื่องเล่าต่างๆ เหล่านี้ โดยใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจของพวกเขา การใช้เพลง การทำใบงานที่ง่านแต่ท้าทายความสามารถและให้หัวข้อสำหรับเรียน โดยมีพื้นฐานจากความคิดที่มีอยู่ในพระคัมภีร์เมื่อนำเสนอเรื่องในพระคัมภีร์ไม่ว่าในเรื่องใด การอธิบายความหมายในแต่ละเรื่องนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันธ์กับชีวิตประจำวันของเด็ก ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเล่าถึงเรื่องยอแซฟและพี่น้อง เราก็สามารถพูดถึงผลเสียของการชิงดีชิงเด่นในสังคมของเด็กๆ ได้
 วัตถุประสงค์ของการสอนในวัยนี้
1. สนับสนุนเด็กๆ ได้แบ่งปันความรู้สึกของตนเองแก่กันและกัน
2. ช่วยเด็กๆ ให้รู้จักประยุกต์เรื่องในพระคัมภีร์เข้าสู่ชีวิตจริง
3. พัฒนาลักษณะที่ดีที่มีตามธรรมชาติของเด็กๆ ให้เจริญก้าวหน้าขึ้น
4. ช่วยแก้ไขลักษณะที่ยังไม่ดีของเด็กๆ
ลักษณะของเด็กวัยอนุบาล
         เด็กในวัยนี้มีความสามารถยิ่งใหญ่ในการเรียนรู้เรื่องพระเจ้าและยินดีที่จะเปิดตัวเองต้อนรับพระเจ้า เขาพร้อมที่จะให้ความไว้วางใจและมีความต้องการที่จะเป็น ผู้ให้และผู้รับในเรื่องของความรัก เรากำลังอยู่ในกระแสแห่ง การสื่อสรเด็กๆ สมัยนี้ถูกสื่อต่างๆ เข้าครอบงำทั้งทางเสียงและทางภาพ การนำเสนอด้วยการ์ตูน การโฆษณา ล้วนแต่นำข่าวสารที่สร้างค่านิยมที่หลากหลายให้กับพวกเขา รายการทางโทรทัศน์ที่นำเสนอการ์ตูนและภาพยนตร์ล้วนแต่สอนพวกเขาว่า คนที่แข็งแรงที่สุดย่อมเป็นผู้ที่ดีที่สุด นั่นคือสามารถที่จะตบตีหรือทำร้ายผู้ใดก็ได้
         เด็กในวัยนี้ยังมีความรู้สึกที่ฝังแน่นอยู่กับเรื่องความยุติธรรม ทุกคนจะต้องได้รับอะไรที่เท่าเทียมกัน ถ้าฉันใจดีต่อเธอ เธอต้องใจดีต่อฉัน ใครที่เล่นตามกฎกติกาย่อมเป็นผู้ชนะ ถ้าหากมีเรื่องกัน การลงโทษจะต้องทัดเทียมกัน ไม่มีมากหรือน้อยกว่า สิ่งที่ท้าทายเราในการสอนคำสอนก็คือการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีตามธรรมชาติของเด็กๆ ให้เติบโตขึ้นและให้ชัดเจนขึ้นในขณะที่ยังโน้มน้าวได้ง่ายในวัยนี้ แม้ว่าเมื่อโตขึ้นเขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตามเด็กในวัยนี้มักจะให้ความไว้เนื้อเชื่อใจกับคุณพ่อคุณแม่ คุณครูและผู้ใหญ่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่เขารู้สึกว่าให้ความเป็นธรรมแก่เขา แต่ถ้าเขาเห็นว่าผู้ใหญ่ไม่ยุติธรรม เขาจะลดความไว้เนื้อเชื่อใจลง เขาต้องการที่จะมองเห็นว่าพระเจ้ายังคงทำงานอยู่ในท่ามกลางความอยุติธรรมด้วย และความยุติธรรมของพระเจ้าจะมีชัยชนะในที่สุด แน่นอน เด็กๆ ยังมัลักษณะบางสิ่งบางอย่างที่ยังไม่ค่อยดีนัก คำว่า ของฉัน” “ตัวฉันเป็นสิ่งที่เด็กในวัยนี้ ได้เรียนรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ ซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาจาก การสงวนไว้สำหรับตนเองไปสู่ การเห็นแก่ตัว” “การรังแกผู้อื่นและ การมีความลำเอียง แต่ก็มีเด็กบางคนที่มีจิตใจกว้างขวางและใจดีโดยธรรมชาติ แต่เด็กส่วนใหญ่ เรียนรู้จักการแบ่งปันจากตัวอย่างและจากการที่ได้รับคำชมเชยและความสนใจต่อความใจกว้างของเขาจากผู้ใหญ่ เด็กๆ จะรู้จักการแบ่งปันอย่างเต็มใจเมื่อเขาเติบโตขึ้นและมีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น เด็กในวัยสี่ห้าขวบบางคนอาจจะเป็นคนที่ไม่ยอมแบ่งปันอะไรให้ใครเลยก็ได้ เขาจะมีความสุขอยู่กับสิ่งที่เขาสนใจ เล่นอยู่ได้ตามลำพัง แต่เด็กส่วนใหญ่เข้าสู่วัยสิบขวบก่อนที่จะเรียนรู้ถึงความสุขจากการแบ่งปันสิ่งที่ผู้อื่นต้องการและความสุขจากการที่ทำให้ผู้อื่นมีความสุข
ลักษณะต่อไปนี้จะช่วยให้ผู้ทำงานได้เกิดความเข้าใจเด็กๆ และสามารถสร้างความคาดหวัง
ในการทำงานกับพวกเขาได้อย่างถูกต้อง

 1.ชอบเรื่องเล่าและการร้องเพลง
 2.เรียนรู้จากการกระทำ มิใช่การให้นั่งอยู่เฉย
 3.เรียนรู้โดยการเลียนแบบอย่างจากผู้ใหญ่ ดังนั้นการสอนต้องมีแบบอย่างและบอกถึงสิ่งที่คาดหวัง
 จะให้เกิดขึ้น เช่น กล่าวว่า ให้เราหลับตาลง คิดถึงพระเยซูและวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์  ขณะที่บอกเด็กๆ ครูต้องหลับตาและภาวนาด้วย
 4.ยากต่อการให้เปลี่ยนจากกิจกรรมหนึ่งไปสู่อีกกิจกรรมหนึ่ง เป็นต้น จากการให้เลิกเล่นอิสระ
 เพื่อให้เข้าสู่กิจกรรมการเรียน ให้ครูสอนซ้ำเรื่องที่สอนแล้วหลายๆ ในแต่ละสัปดาห์ 
 และให้ใช้เพลงเพื่อการเปลี่ยนจากกิจกรรมหนึ่งไปสู่อีกกิจกรรมหนึ่ง เพลงจะช่วยให้เด็กๆ เคลื่อนที่
 ได้อย่างเต็มใจมากขึ้น
 5.เด็กๆ มีความต้องใจในช่วงสั้นๆ (เช่น สำหรับเด็กวัย 3 ขวบ ประมาณ 5 นาที ส่วน 4 – 5 ขวบ ประมาณ 10 นาที) เด็กในวัย 3 ขวบ ชอบที่จะเล่นตามลำพัง แม้ว่าจะยืนอยู่เคียงข้างเพื่อน เขาต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเด็กในวัย 4 และ 5 ขวบชอบที่จะเล่นกับเพื่อเพียงคนคนหรืสองคนไม่ชอบกลุ่มใหญ่ การแนะนำสมาชิกใหม่กับเพื่อนเพียงคนหรือสองคนจะช่วยลดความกลัวที่จะแนะนำเขาต่อหน้ากลุ่มใหญ่โดยทันทีทันใด
แนวความคิดต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านได้ลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น                                                 
 และจะช่วยให้เกิดความร่วมมือและพฤติกรรมเชิงบวกแก่เด็กๆ ของท่าน
 1.เด็กทุกคนต้องการคววามรักและการยอมรับ ท่านจะต้องสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นในขณะที่ท่านอยู่กับพวกเขา
 2.ใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเพื่อการควบคุมชั้น เช่น การปรบมือหรือการเป่านกหวีดหรือการใช้เพลงใด เพลงหนึ่งที่ตกลงกันไว้ เพื่อให้เด็กรู้ว่าตนเองต้องหยุดกระทำในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่และต้องให้ความสนใจครู
 3.ใช้คำพูดเพื่อยืนยันถึงพฤติกรรมที่ต้องการบอกกับเด็กๆ เช่น ครูชอบเพื่อนๆ ที่นั่งข้างหลังจังเลย 
 เพราะเขากำลังแบ่งดินสอกันใช้
 4.เด็กๆ ชอบที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือ ท่านควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เข้าช่วยเหลืออะไรที่พอทำได้ 
 เช่น การแจกกระดาษ การเก็บขยะ การลบกระดาน การช่วยถือของ การแบ่งความรับผิดชอบ
 จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าห้องเรียนนี้เป็นของพวกเขา
 5.เด็กๆ ต้องการที่จะรู้ว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อจะได้ไม่ประพฤติผิดหรือสับสน 
 ดังนั้นควรที่จะตั้งกฎง่ายๆ สำหรับการปฏิบัติร่วมกันในห้องเรียน
6.เด็กแต่ละคนมีรูปแบบในการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีถ้าท่านจับจุดเขาถูกต้อง
 7.สุดท้าย การภาวนาอย่างสม่ำเสมอสำหรับเด็กๆ แต่ละคนที่พระเจ้าส่งมาให้ท่า ตระหนักถึงภารกิจและบทบาทของท่านในฐานะที่ท่านเป็นเครื่องมือแห่งความรักของพระเยซูคริสตเจ้า
จิตวิทยาการการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 6-7 ปี
เด็กวัยอายุ 6 ปี
               เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่ผ่านโรงเรียนระดับอนุบาลมาแล้ว บางคนอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัวในการเรียนระดับประถม เพราะในระดับอนุบาลไม่ต้องเรียนอะไรมากเพียงแต่การเตรียมความพร้อม ร้องรำทำเพลง แต่เมื่อต้องเข้าสู่ระบบที่ใหญ่กว่าอาจจะทำให้เด็กในวัยนี้รู้สึกอึดอัดจนเกิดความเครียด ไม่อยากมาโรงเรียน หรือทำเป็นไข้ไม่สบายหรือเป็นโรคปวดท้องขึ้นได้ดังนั้นในการเรียนคำสอนนั้น เราจะต้องสร้างบรรยากาศของห้องคำสอนให้แตกต่างไปจากห้องเรียน
                 เด็กในวัยนี้ยังยึดคุณพ่อคุณแม่เป็นวีรบุรุษอยู่อย่างมาก จึงเหมาะสมที่จะแนะนำนักบุญทั้งชายและหญิงให้แก่เด็กๆ โดยแนะนำว่าพวกเขาให้เห็นว่าบุคคลที่เป็นนักบุญเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคนที่อ่อนแอเหมือนกับเราแต่พวกเขาได้พยายามที่จะเสริมสร้างตนเองจนมีความเข้มแข็งขึ้นมาได้บรรดานักบุญล้วนมาจากภูมิหลังของชีวิตที่แตกต่างกัน บางคนมาจากสามัญชน บางคนก็เป็นถึงพระมหากษัตริย์หรือราชินี แต่ที่พวกเขาสามารถเป็นนักบุญได้นั้นก็เพราะพวกเขาได้เลือกที่จะดำเนินชีวิตแห่งความรักตามแนวทางแห่งพระวรสาร บรรดานักบุญทราบดีว่าพระเจ้าทรงรักพวกเขา และพวกเขาก็รักพระองค์ ตอบโดยการดำเนินด้วยความปิติยินดี การเข้าช่วยเหลือผู้อื่น การยืนอยู่ข้างความถูกต้องแลพยายามที่จะร่าเริงอยู่เสมอแม้ว่าจะประสบกับความยุ่งยากลำบากในชีวิต 
นักบุญไม่ได้กล่าวแต่คำ ตอบรับกับพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังต้องการที่จะเป็นมิตรกับพระเจ้ามากกว่าสิ่งใดๆ และต้องการที่จะดำเนินชีวิตเยี่ยงบุตรของพระองค์บุคคลในพระคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงเช่น ดาเนียล โยนา ดาวิด โยนาธาน ฯลฯ จากพันธสัญญาเดิม เปโตร เปาโล มัทธิว ฯลฯ จากพันธสัญญาใหม่
เด็กวัยอายุ 7 ปี
            เด็กวัยนี้ชอบฟังเรื่องเล่าต่างๆ เขาจะสนุกไปกับเรื่องเล่าต่างๆ ได้อย่างไม่รู้เบื่อ ครูจึงต้องพยายามตอบสนองต่อความต้องการโดยพยายามที่จะเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีอย่างเช่นพระเยซูเจ้าเด็กในวัยนี้ยังอยู่ในวัยที่โน้มน้าวจิตใจได้ง่ายและเริ่มที่จะยอมรับความคิดของผู้ใหญ่อื่นที่ไม่ใช่พ่อหรือแม่หรือคนในครอบครัวของตน มีความต้องการที่จะรับคำชมเชยจากครูสูง ครูจะต้องสนองต่อความต้องการของเด็กในเรื่องนี้ และฝึกฝนเด็กให้เป็นเช่นพระคริสต์และให้แสดงความรักต่อเด็กแต่ละคน
 หลักสูตรคำสอนที่จะให้แก่เด็กในวัยนี้คือการแนะนำชีวิตของพระคริสตเจ้าตั้งแต่การบังเกิด การทนทุกข์ทรมาน การสิ้นพระชนม์ การกลับคืนชีพ และอัศจรรย์ต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่แสดงว่าพระเยซูทรงรักและห่วงใยประชาชน พระอานุภาพของพระองค์ทรงยิ่งใหญ่เหนือสิ่งต่างๆ แม้นกระทั่งความตาย ทั้งหมดนี้ครูจะต้องเล่าให้อยู่ในรูแบบที่ซื่อๆ ง่ายๆครูอาจจะใช้ปฏิทินพิธีกรรมโดยเริ่มตั้งแต่เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ครูสามารถอธิบายถึงชีวิตของแม่พระและภารกิจของพระนาง เรื่องแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ดและฟาติมา รวมทั้งการฉลองต่างๆ ที่เกี่ยวกับแม่พระ บทบาทของนักบุญ เทวดา และอำนาจของพระสันตะปาปา พระสังฆราช
วัตถุประสงค์ในการสอนคำสอนเด็กในวัยนี้คือ
-ให้เด็กๆ สามารถเล่าเรื่องของพระเยซูและอัศจรรย์ต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงกระทำ
-ให้เด็กๆ ได้คุ้นเคยกับปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร
-รักและเลียนแบบแม่พระ
-เข้าใจถึงธรรมประเพณีปฏิบัติของพระศาสนจักร
จิตวิทยาการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 8- 9 ปี
วัย 8 ขวบ
  ในวัยนี้เหมาะที่ครูจะฝึกอบรมพวกเขาให้มีสำนึกแห่งการรู้จักตนเอง  (Self – awareness) ต่อสังคม ความสนใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเองและผู้อื่น ที่อยู่รอบข้าง การยอมรับตนเอง และความหมายของอิสรภาพลักษณะเด่นของเด็กในวัยนี้คือการเข้าสนิทสนมกับกลุ่มเพื่อนสนิทของตนหรือมี จิตตารมณ์กลุ่มที่เหนียวแน่นมาก การเข้าสังกัดกลุ่มเพื่อนนี้เป็นโอกาสให้เด็กๆ ได้รับประสบการณ์แห่งคำว่ามิตรภาพ ยังเป็นการตรวจสอบความสามารถในการเป็นผู้นำหรือผู้ตาม การรู้จักทำงานร่วมกันกับผู้อื่นและเป็นการประเมินตนเองในการมี ความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ของเขา เด็กในวัยนี้ต้องการการยอมรับเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มและการประกาศอย่างสาธารณะถึงความสำเร็จหรือการได้รับเกียรติที่เป็น เครื่องหมาย สัญลักษณ์ พวกเขาต้องการการสรรเสริญ การชื่นชมจากคนอื่นๆ ในกลุ่มโดยการแสดงออกมาให้เห็นว่าเขาสามารถทำอะไรบางสิ่งได้อย่างดี เด็กในช่วงวัยนี้เริ่มรู้สึก ได้ถึงความแตกต่างของผู้คนรอบข้าง เขาอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ มากขึ้น คนแปลกหน้า คนต่างชาติ ต่างศาสนาและเผ่าพันธุ์ สนใจเกี่ยวกับผู้คนต่างๆ สถานที่และสิ่งใหม่ๆ จากสิ่งต่างเหล่านี้พวกเขาสามารถเสริมสร้างทัศนคติของตนเองขึ้นมาได้ในวัยนี้เด็กๆ จะเข้าใจความหมายของคำว่าบาปก็โดยการเปรียบเทียบกับความสัมพันธ์นั่นคือบาปคือการปฏิเสธความรักของพระเจ้าปฏิเสธที่จะตอบสนองความรักของพระ เจ้าโดยรู้ตัวและเต็มใจในการกระทำสิ่งที่ผิด เด็กในวัยนี้มีอุปสรรคเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างสิ่งที่ถูกกับสิ่งที่ผิด พวกเขามักจะคุ้นเคยกับความรู้สึกที่ผิด ซึ่งอาจมาจากการกระทำผิดๆ จริงๆ ของตน แต่ความรู้สึกนี้อาจจะเข้าไปเชื่อมโยงอย่างผิดๆ จริงๆ ของตน แต่ความรู้สึกนี้อาจจะเข้าไปเชื่อมโยงอย่างผิดๆ กับพฤติกรรมที่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นเด็กๆ ควรเรียนรู้ที่จะแยกแยะระหว่างความผิดกับสิ่งที่ผิด พวกเขาอาจจะเกิดมีมโนธรรมที่ละเอียดอ่อนหรือเป็นโรคประสาท เล็กน้อยเกี่ยวกับความประพฤติหรือเกิดความกลัวที่จะกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อโอกาสอำนวยให้
เด็กวัย 9 ขวบ
                เด็กในวัยนี้ควรที่จะให้การอบรมเป็นพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเพื่อหรือมิตรภาพที่มีพื้นฐานอยู่บนความรัก เด็กในวัยนี้กำลังจะเข้าสู่พิธีการรับมหาสนิทครั้งแรกและศีลแห่งการคืนดี จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ครูจะต้องช่วยเด็กเหล่านี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ                                                              
-เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ่งและรักศีลมหาสนิท โดยสำนึกว่าศีลนี้เป็นของขวัญที่พระเยซูมอบให้แก่เราด้วยความรัก                                                                                                                                                -ให้เกิดการยอมรับว่าเราต้องเป็นทุกข์เสียใจที่เราได้ผิดพลาดต่อเรื่องของความรักของพระเจ้าและมีความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นเพื่อจะได้เข้ารักกับการให้อภัยจากพระเจ้า การคืนดีเป็นเครื่องหมายของการให้อภัยและความ มีเมตตาของพระบิดาที่น่ารักและเป็นเครื่องช่วยให้เรามุ่งมั่นที่จะแสดงความรักต่อพระเจ้าดังเช่นที่พระองค์ทรงรักเรา เด็กๆ ต้องการความเป็นมิตรและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครูของพวกเขา ครูจึงควรที่จะต้องสังเกตสิ่งที่พวกเขากระทำและชมเชยความพยายามของพวกเขาด้วย พวกเขา ต้องการรูปแบบเพื่อจะได้เลียนแบบและเรียนรู้จากคำแนะนำที่ได้รับอย่างเคร่งครัด
 วัตถุประสงค์สำหรับการเรียนของวัยนี้คือ
 1.ให้มีประสบการณ์แห่งการเป็นส่วนหนึ่ง
 2.ตระหนักถึงคุณค่าของคำว่ามิตรภาพ
 3.สามารถแยกแยะถูกและผิดได้
 4.รักศีลมหาสนิท
 5.พัฒนาทัศนคติแห่งการรับใช้
รายละเอียดของเด็กวัย 9 ขวบ
 เด็กวัย 9 ขวบต้องการที่จะเป็นอิสระ แม้ว่าเขายังต้องพึ่งพาผู้ใหญ่อยู่ บางวันเขาก็ดู เหมือนว่าจะเป็นผู้ใหญ่อย่างน่าประหลาดใจ แต่อีกบางวันเขากลับทำเหมือนเด็กทารก ถ้าหากเขาถูกดุด่าว่ากล่าวอย่างไม่เหมาะสมหรือแสดงความไม่พอใจเขาก็จะกลับเป็นกบฏและไม่ยอมสมาคมด้วยในสายตาของเขาเขารู้สึกว่าตนเองโตแล้วและอยากให้ เคารพความเป็นอิสระของเขาวัยนี้มีลักษณะเด่นอยู่กับการผูกพันอยู่กับกลุ่มเพื่อน การรับอิทธิพลจากเพื่อน การแข่งขันและการร่วมมือกับผู้อื่น ความผูกพันปรับระดับจากครอบครัวมาสู่กลุ่มเพื่อนๆสนใจในเรื่องของ กลุ่มสูงส่วนการละเล่นนั้นยังแยกกันเล่นแยกกันอยู่ระหว่าง เด็กชายและเด็กหญิง เมื่อเด็กชอบเล่นและทำงานเป็นกลุ่ม กิจกรรมกลุ่มในห้องคำสอนจึงเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงทักษะที่แสดงออกถึงความรักและความอดทน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ครูควรจัดกิจกรรที่ส่งเสริมการทำงานเป็นกล่า หรือกิจกรรมที่ต้องเป็นการร่วมมือกันและจัดพลัดเปลี่ยนหน้าที่กันรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ ครูจะต้องสนับสนุนให้เด็กๆ รู้จักการประนีประนอม การแบ่งปันอุปกรณ์และขนมนมเนย การรับฟังเมื่อเขาพูดและ การยอมรับความคิดเห็นของเขา นักจิตวิทยาจำนวนมากยอมรับว่า เด็กในวัยนี้สามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้แล้ว เด็กๆ เริ่มที่จะเข้าใจหลักศีลธรรมที่เป็นนามธรรมได้บ้าง โดยจะตัดสินเรื่องคุณธรรมได้เป็นกรณีๆ ตามสถานการณ์ที่เคยได้รับการเรียนรู้มาแล้ว เขาสามารถตัดสินเรื่อง ถูกหรือ ผิดได้ตามเนื้อหาแต่ยังขาดการตริตรองหรือการเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมต่างๆความขัดแย้งหรือความสับสนที่เกิดกับเด็กในวัยนี้ก็คือสิ่งที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากทางบ้านกับสิ่งที่ได้จากกลุ่มเพื่อน การให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหาทางศีลธรรมด้วย ตัวเองนั้น ครูสามารถให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมติ การให้เล่นแบบนี้จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรากระตุ้นจิตสำนึก และจูงใจให้คิดหาทางแก้ไขปัญหาและผลที่จะตามมาวัย 9 ขวบนี้มีความโน้มเอียงที่จะยึดกฎและระเบียบเป็นธรรมชาติ เขาจะเสริมสร้างลักษณะนิสัยของตนเองและง่ายที่จะยอมรับรูปแบบทางพฤติกรรมที่เขารู้จักและชื่นชอบสิ่งนี้จึงเป็นจุดสำคัญที่เราสามารถวางพื้นฐานลักษณะนิสัยตามวิถีทางแห่งชีวิตคริสตชนและโน้มน้าวให้เด็กกระทำในสิ่งที่ดีได้ง่ายและด้วยความยินดีเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำอะไรแต่เพียงภายนอก ครู เช่น พระเจ้าทรงต้องการความรักแท้ของเรามากกว่ากระทำแต่เพียงภายนอก พระองค์ต้องการให้เราเคารพสิทธิของผู้อื่นเพราะเราห่วงใยต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขามากกว่ากลัวพระองค์จะลงโทษเป็นต้น
จิตวิทยาการสอนคำสอนตามวัยสำหรับเด็กอายุ 10 ปี
เด็กวัย 10 ขวบ
 เด็กวัยนี้ให้คุณค่ากับเรื่อง ความยุตธรรม ความจงรักภักดี และการรับผิดชอบ สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรเป็น ของฉันหรือ ของเธอโดยปรกติเขามักจะพูดความจริงและยอมรับการตำหนิเมื่อได้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมลงไป บางครั้งอาจจะมีเด็กบางคนที่ชอบทำลายข้าวของหรือรังแกเด็กที่ไม่อยู่ในกลุ่มของตน ความผิดปรกตินี้สามารถแก้ไขได้ถ้าเด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงการเอาใจเขามาใส่ใจเราถ้ากลุ่มเพื่อนของเขาเป็นคนที่ไม่มีศาสนา เขาก็อาจจะละเลยการสวดภาวนาหรือการเข้ารับศีลศักดิ์สิทธิ์ แต่โดยทั่วไปแล้วเด็กในวัยนี้มีความสนใจในเรื่องของศาสนา ความสนใจนี้จะเพิ่มขึ้น ถ้าเขาได้รับรู้ว่าสิ่งที่ดีๆ ในชีวิตของเขาเป็นพระพรของพระเจ้าและเป็นเครื่องหมายแห่งความรักของพระองค์การเรียนการสอนสำหรับเด็กในวัยนี้ ต้องเป็นเรื่องที่สนุก เช่น การเล่นเกมที่เกี่ยวกับคำต่างๆ การถอดรหัส เกมปริศนา อะไรเอ่ย เป็นต้น ความจำเป็นสิ่งที่จะทำให้เขารู้สึกว่าตนประสบผลสำเร็จ เขามีพลังในการทำงานที่สร้างสรรค์งานที่ท้าทาย และงานที่ใหม่ๆ ไม่จำเจ ทำงานอดิเรก หรืองานโครงการที่ยาวกว่าได้นานถ้าเขาได้รับการสนับสนุนและการชื่นชม เขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความล้มเหลวถ้าหากว่าเขามีประสบการณ์แห่งความสำเร็จมาแล้ว พลังเหล่านี้ครูควรค้นให้พบในเด็กแต่ละคนนำออกมาใช้ในสิ่งที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นเด็กๆ อาจจะใช้พลังเหล่านี้ไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้ ครูควรมอบหมายงานหรือหน้าที่ตามความสามารถของเขา เขาชื่นชอบการยกย่องงานของเขามากกว่าการไม่ได้รับรู้หรือไม่ชมหรือไม่ให้รางวัลเขาเลย
 เด็กในวัยนี้ต้องการได้รับความรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่ไว้วางใจ ครูควรเป็นเพื่อนกับเขา เป็นต้น กับเด็กๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น เด็กที่ชอบก่อปัญหาว้าเหว่ ขี้อาย เรียนช้า เด็กเหล่านี้จะต้องไม่เรียกเขาว่าเป็นเด็กเลว เด็กขี้เกียจหรือโง่อย่างเด็ดขาดครูต้องพยายามค้นหาสาเหตุของความผิดปรกติของเขาให้พบ เพราะบางครั้งปัญหาเกิดจากความเข้าใจผิดเท่านั้นเองซึ่งเราสามารถแก้ไขได้โดยการพูดคุยทำความเข้าใจกัน เป้าหมายของการอบรมคำสอนที่จะใช้กับเด็กในวัยนี้คือ การเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวของพระเจ้าโดยเน้นความรู้สึกแห่งการเป็นเจ้าของ การดำเนินชีวิตและการแบ่งปันกันในครอบครัวของผู้มีความเชื่อทั้งนี้เพื่อมิให้การเติบโตในชีวิตแห่งความเชื่อนั้น แต่เป็นการเติบโตในทุกมิติของชีวิตอีกด้วยเนื้อหาที่จะสอนสำหรับเด็กในวัยนี้คือ ความรู้ทั่วไปของศีลศักดิ์สิทธิ์ศีลล้างบาป ศีลกำลังและศีลมหาสนิทเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน ศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ทำให้เราได้รับชีวิตของพระคริสต์ และดำรงชีวิตอยู่ในพระคริสต์ศีลแต่งงานและศีลบวช ทำให้ประชาการของพระเจ้าเพิ่มขึ้น
ศีลคืนดีและศีลเจิมผู้ป่วยนำพลังแห่งการรักษามาให้เราเราสามารถสอนเด็กของเราในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตกลุ่มได้ทั้งหมด เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การบริการรับใช้ การห่วงใย การเอาใจใส่ผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่สังคมรังเกียจ หรือไม่ต้องการคนที่ด้อยกว่า คนที่ถูกทอดทิ้ง เพื่อที่เขาจะได้ดำเนินชีวิตได้อย่างกลมเกลียวกับทุกๆ คน
วัตถุประสงค์ของการอบรม
 1.ช่วยให้เด็กๆ ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคริสตชนและได้รับการเรียกเขามาเพื่อรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความรักและความเข้าใจ
 2.เข้าใจได้ว่าการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนั้นเรียกร้องให้มีการให้อภัยและการยอมรับผู้อื่นอย่างไม่มีสิ้นสุด
 3.พัฒนาทัศนคติแห่งความห่วงใย การเอาใจใส่และการเป็นหนึ่งเดียวกันของกลุ่ม
 4.รักชื่นชอบในขนบธรรมเนียมของพระศาสนจักรในเรื่องของพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการและพิธีฉลองต่างๆ ตลอดปีพิธีกรรม
จิตวิทยาคำสอนวัยเยาวชน 12 ปี – 20 ปี
ลักษณะเชิงบวก
                         มีเอกลักษณ์ของตน
                         มีความมั่นคงในตนเอง
                         เป็นตัวของตัวเอง แสวงหารูปแบบที่ตนประทับใจ
                         มีความแน่นอนในบทบาททางเพศของตน
                         เชื่อผู้นำ มุ่งมั่นในอุดมคติของตน
ลักษณะเชิงลบ
                         สับสนในบทบาทของตนเอง
                         จำกัดบทบาทของตนอย่างแน่นอนไม่กล้าออกนอกกรอบที่วางไว้
                         ตัดสินไม่เป็น สับสนในเรื่องเพศของตน สับสนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับผู้ใหญ่
                         สับสนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับค่านิยมใหม่
พฤติกรรม  :ความศรัทธา บูชาคนเก่ง
คุณธรรมขั้นพื้นฐาน :ความเชื่อ
บทบาทของพ่อแม่ :ให้อิสระมากขึ้น ให้เขาบริหารเวลาและการเงินส่วนตัวของเขา
                            ส่งเสริมให้เขาเป็นตัวของตัวเอง แต่อย่าให้เสียวินัยของครอบครัว
                            ให้เขาได้ร่วมกลุ่มกิจกรรมกับเพื่อนๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาสนใจ
                            โดยการพูดคุยแนะนำชมเชย
บทบาทของครูคำสอน :
          ใกล้ชิดเด็กมากขึ้น สังเกตความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของเด็ก ติดตามสถานการณ์ของวัยรุ่นให้ทันต้องสอนให้ทันสมัย มีความยืดหยุ่น จัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่ใกล้ตัวของเขา ทำตัวให้เด็กวางใจการอบรมและการสอนคำสอนจะต้องคำนึงถึงปัญหาเฉพาะของวัยนี้อย่างมากต้องใช้เหตุผลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะความสงวัยของเขาเป็นความสงสัยทาง
 เหตุผล เนื้อหาให้สัมพันธ์กับชีวิตและปัญหาของชีวิตทั้งในด้านส่วนตัวครอบครัวและสังคม แนะเขาให้เห็นคุณค่าของทุกสิ่ง คุณค่าของตัวเขาเอง คุณค่าของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และคุณค่าของสิ่งสูงสุดคือพระเจ้า ชี้ให้เขาเห็นว่าพระเยซูเป็นวีรบุรุษของเราทุกคน บรรดานักบุญก็คือรูปแบบของคนเราที่ประสบผลสำเร็จในการติดตามองค์พระเยซูเจ้าสอนเขาให้รู้จักใช้เสรีภาพในทางที่ถูกต้อง เคารพนับถือผู้ใหญ่ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความร่วมมือในกิจกรรมคาทอลิกที่เรียกร้องความรัก  ความเสียสละและความอ่อนโยน รู้จักการสวดภาวนาและปฏิบัติกิจศาสนาได้ด้วยตัวเองหนุนใจเขาให้เข้มแข็งไม่ย่อท้อในอุปสรรค ให้เขาวางใจและมอบอนาคตของเขาไว้กับ
พระเจ้าด้วยการอธิษฐาน สอนเขาให้ยึดเอาพระคัมภีร์เป็นหลักการในชีวิต
จิตวิทยาคำสอนวัยผู้ใหญ่เริ่มแรก 21 - 25
ลักษณะเชิงบวกชอบสังคม
                             มีความสามารถที่จะอุทิศตัวเองทุ่มเทตัวเองให้กับงานใดงานหนึ่งที่ตนชอบ
                             มีความผูกพันกับสังคม
ลักษณะเชิงลบ
                              ความโดดเดี่ยว
                              หลีกเลี่ยงการอยู่กับคนอื่น มีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ ก้าวร้าว เกิดอคติฝังใจ
พฤติกรรม  : มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ รู้จักรับผิดชอบได้
คุณธรรมขั้นพื้นฐาน : ความรัก
บทบาทของพ่อแม่ : ยอมรับและอดทนต่อการตัดสินใจของพวกเขา
                            ใช้เหตุผลให้มากขึ้น ให้เกียรติเขา ให้โอกาสเขาในการปรึกษา
                             หารือเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว ให้เขาตัดสินใจเรื่องของครอบครัวมากขึ้น
บทบาทของครูคำสอน : ช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจชีวิตแบบคริสตังอย่างแท้จริง
                                  ช่วยให้แสงสว่างแห่งคำสอนคริสตัง ฉายลงมายังความเป็นจริง
                                  แห่งชีวิตซึ่งมีอิทธิพลเหนือหนุ่มสาวมาก เช่น ความหมายของ
                                  ชีวิตฝ่ายกาย ความรักและครอบครัว บรรทัดฐานในการดำเนิน
                                  ชีวิตการงานและการพักผ่อน ความยุติธรรมและสันติภาพ
             วัยผู้ใหญ่เริ่มแรกนี้จะพยายามมุ่งเข็มชีวิต และความเป็นอยู่ของเขาทั้งหมดไปตามกฎ
และคุณค่าที่ตนเห็นว่าสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้คนวัยนี้พบว่ามีคุณค่าหลายอย่างในชีวิต
ที่ขัดแย้งกัน สิ่งนี้ทำให้เกิดการขัดแย้งภายในใจเกี่ยวกับคุณค่าเหล่านี้ซึ่งเขาพยายามแสวงหา
และทำให้เขาละทิ้งคุณค่าที่เห็นว่า ไม่สามารถแสดงออกได้ในชีวิตของผู้ใหญ่ การสอนคำสอน
ต้องช่วยให้พวกเขาค้นพบคุณค่าแท้ยิ่งที่ยิ่งมากขึ้น และตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง
การจัดให้มีกลุ่มสมาคมของคนในวัยนี้ นับว่าเป็นสิ่งสร้างสรรค์ให้พวกเขา ให้แสดงความคิดเห็น
และใช้พรสวรรค์ของตน กลุ่มจะช่วยให้พวกเขารักษาความเป็นตัวของตัวเอง และเป็นแรงกระตุ้น
ให้เห็นคุณค่าต่างๆ ของชีวิตของตน
         สังคมปัจจุบันมองวัยรุ่นเป็นวัยที่วุ่นวายและมีแต่เรื่องแปลกๆ น่าเวียนหัวแต่จริง ๆ แล้ว
วัยรุ่นไม่ใช่วัยที่วุ่นและทำเรื่องแปลกๆ เป็นวัยที่เริ่มการเป็นผู้ใหญ่ คืออยู่ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่
เท่านั้น วัยรุ่นนี้ไม่ใช่ปัญหาของสังคม ถ้าเราจะมาเรียนรู้และเข้าใจวัยรุ่น ให้เราเข้าใจเขา
เพื่อจะได้นำเขาได้
ปัญหาของวัยรุ่น
           คนที่มีลูกวัยรุ่นหรือกำลังเป็นวัยรุ่นอยู่ คงไม่ผ่านบทความนี้แน่ๆ วัยรุ่น คือวัยที่พ้นจากความเป็นเด็กจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะเป็นเด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิงส่วนใหญ่อายุประมาณ 13-18 ปีในบางประเทศที่พัฒนาทางจิตใจช้า จะกำหนดให้วัยรุ่นมีอายุสูงขึ้น เช่น ในประเทศไทยให้ได้ ถึง 24 ปีวัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและฮอร์โมนทางเพศรูปร่างและสรีระก็แปลกไปจิตใจก็ว้าวุ่น คิดแปลกๆ ฝ่ายหญิงเริ่มมีประจำเดือน ฝ่ายชายเริ่มมีอสุจิการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายยังพอจะอธิบายให้ฟังได้ง่ายๆแต่ทางจิตใจนี่ซิอธิบายยาก คนที่ผ่านวัยรุ่นแล้วก็มักจะลืมไปคนที่กำลังเป็นวัยรุ่นก็เรียบเรียงไม่ถูกลองมารู้จักจิตใจของวัยรุ่นว่าเป็นอย่างไรบ้าง
 1.ต้องการความรักมากมายมักคิดว่าไม่ค่อยมีคนรักตัวเอง อยากให้พ่อแม่ คนใกล้ชิดเข้าใจและรักเขามาก ๆ
 2.ต้องการความสนุกสนาน เป็นอิทธิพลของฮอร์โมนทางเพศ ที่เริ่มเป็นวัยรุ่น  จะอยากเบิกบาน สนุกสนาน ชอบเล่นอะไรแปลกๆ แผลงๆ บ้าง ถ้าพ่อแม่ไม่เข้าใจ จะมองดูเป็นปัญหาทันที
 3.อ่อนไหวง่าย ชอบเพ้อฟัน ดังนั้นวัยรุ่นกับเรื่องเพลงและดนตรีจึงไปกันได้ดีเทปเพลงดังๆ ที่ขายดี ก็ขายวัยรุ่นนี่เองเวลาเขาฟังเพลงและเพ้อฝันบ้าง  ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจอาจจะนึกว่าเขาบ้าก็ได้
 4.อุดมคติสูง มองชีวิตในแง่ดี อยากถูกยกย่อง บางทีจะรับอาสาทำสิ่งที่ยาก ๆ  เพื่ออุดมการณ์ ชักจูงง่ายวัยรุ่นตายไปด้วยคำว่า อุดมการณ์นี้มากมาย
 5.สนใจเรื่องเพศและความรักมากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้นผู้ใหญ่ต้องหาทางอธิบายอย่างเหมาะสม
 6.อาจทำดีที่สุดถึงเลวที่สุดได้ เป็นพวกที่เปลี่ยนใจง่ายโลเล การใช้เหตุผลยังไม่ดีพอ
 7.หลงง่าย เบื่อง่าย คลั่งง่าย บูชาอะไรง่ายๆ การตลาดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จึงพยายามสร้างสื่อโฆษณาโดยการใช้นักร้องหรือคนที่วัยรุ่นรักและคลั่งเป็นตัวแสดงเพื่อให้วัยรุ่น คลั่งผลิตภัณฑ์ของเขาด้วยวัยรุ่นจะตัดสินใจซื้ออะไรๆ ได้ง่าย ๆ กว่า ผู้ใหญ่ ก็ด้วยความคลั่งนี่เอง
 8.เวลาเกลียดก็เกลียดมาก เวลารักก็รักมาก
 9.เศร้ามากกว่าปกติ เพราะเพ้อฝันมาก เวลาผิดหวังจึงเศร้ามาก
 10.ต้องการการยอมรับในกลุ่มเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ ชอบแต่งกายและทำกิริยาตามเพื่อนพ่อแม่หลายๆ คน จึงน้อยใจหาว่าลูกไม่รักพ่อแม่ไปรักเพื่อนมากกว่าแต่เหตุการณ์นี้ จะเกิดในช่วงวัยรุ่นเท่านั้น หลังจากนั้นเขาจะหาเอกลักษณ์ของเขาเองและมีเหตุผลดีขึ้น
 11.ต้องการมีอิสระมากขึ้น ทั้งจากพ่อแม่ และโรงเรียนบางครั้งจะเห็นพฤติกรรมและคำพูดต่อต้านพ่อแม่ และโรงเรียนได้บ้าง ทั้งหมดนั้นเป็น ความปกติของวัยรุ่นถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ จะมองว่าเป็นปัญหา
จิตวิทยาคำสอนวัยผู้ใหญ่สมบูรณ์
ลักษณะเชิงบวก
                       สร้างสรรค์ สืบทอดวัยมั่นคง มีลูกสืบทอดวงศ์สกุลนำทางให้คนรุ่นใหม่ได้
ลักษณะเชิงลบ
                       นิ่งเฉยเห็นแก่ตนเอง ไม่สร้างสรรค์ รักแต่ตนเอง มีใจแคบไม่ชอบสมาคมกับใคร
พฤติกรรม  : สร้างสรรค์
คุณธรรมขั้นพื้นฐาน : รัก รับผิดชอบ ห่วงใย เอาใจใส่ผู้อื่น
บทบาทของพ่อแม่ : เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นขวัญกำลังใจ
บทบาทของครูคำสอน : ช่วยผู้ใหญ่ให้ดำเนินชีวิตตามความรักแบบคริสตชนอย่างสมบูรณ์ และถ่ายทอดความเชื่อนี้สู่ลูกหลานต่อๆ ไปคนในวัยนี้ มีความสามารถที่จะผูกมิตรกับผู้อื่น  และสร้างความสัมพันธ์ต่อกันกับผู้อื่นได้ ความสามารถและความต้องการมิตรภาพนี้จะปรากฏให้เห็นเด่นชัด ทั้งในการงาน ในครอบครัว และความสัมพันธ์ในสังคม  และสิ่งเหล่านี้บางครั้งก็ส่งเสริม บางครั้งก็ขัดขวางการผูกมิตรความจริงในคนเรา เป็นต้น คนสมัยนี้มักจะรู้สึกโดดเดี่ยวมากการสอนคำสอนควรจะแสดงให้เห็นว่า พระเป็นเจ้าผู้เป็นองค์ความรัก เป็นผู้สร้างกลุ่มคริสตชน คือ พระศาสนจักรขึ้น และในขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นความปรารถนาที่จะผูกมิตรกับทุกคน คำสอนนั้นจะต้องช่วยเตือนคนที่แต่งงานแล้วว่า ความเป็นหนึ่งเดียวกันในศีลสมรสเป็นเครื่องหมายอันล้ำลึกของความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความรักระหว่างพระคริสต์เจ้าและพระศาสนจักร และเขาก็มีส่วนในธรรมล้ำลึกนั้นด้วย
จิตวิทยาคำสอนวัยผู้ใหญ่ช่วงสุดท้าย
ลักษณะเชิงบวก
                      ความมั่นคงยอมรับวัฏจักรแห่งชีวิตยอมรับว่าหลีกเลี่ยงความตายไม่พ้น
                      รู้สึกตนว่าพอแล้ว
ลักษณะเชิงลบ
                      ความท้อแท้ หมดหวังตีราคาชีวิตของคนสูงเกินไป ไม่ยอมรับความเป็นจริงของตน
                      คิดว่าคนอื่นต้องเป็นเหมือนตนอยากมีชีวิตมีโอกาสใหม่เพื่อแก้ไขตน กลัวความตาย
พฤติกรรม    :     เสียสละ มีใจเมตตา
 คุณธรรมพื้นฐาน    :     ความสุขุม รอบคอบ
 คนในวัยนี้มักจะถูกละเลย จากสภาพของร่างกายและตามสภาพของสังคมซึ่งมักถือว่า เขาตายไปแล้ว เพราะว่าไม่มีใครหวังอะไรจากผลงานของพวกเขาอีกต่อไปการสอนคำสอนควรช่วยคนชราให้มีความหวังแบบเหนือธรรมชาติว่าความตาย เป็นการย่างเข้าสู่ชีวิตแท้เป็นการย่างเข้าสู่ชีวิตแท้เป็นการพบกับพระผู้ช่วยให้รอด  ดังนี้คนชราก็จะสามารถเป็นเครื่องหมายของการสถิตอยู่ของพระเป็นเจ้า ของชีวิตที่ไม่รู้ดับ และของการกลับคืนชีพในภายหน้า นี้เป็นสัญลักษณ์แห่งยุคสุดท้ายที่คนชราสามารถให้แก่โลกโดยการมีความเพียร อดทนกับตนเองและกับผู้อื่น โดยความมีใจกว้างขวาง โดยการสวดมนต์ภาวนาสรรเสริญพระเป็นเจ้า โดยการสละแล้วซึ่งความผูกพันกับสิ่งต่างๆ และโดยการวางใจในพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว
ประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยา
                ๑. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  ในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ  โดยเฉพาะในงานราชการ  การทำหน้าที่จำหน้าและชื่อคนในบังคับบัญชาและลูกค้า  การปกครองให้คนร่วมมือกลมเกลียว  วิธีสอบสัมภาษณ์เลือกคนเข้าทำงานและการใช้คนให้เหมาะสมกับชนิดของงาน  วิธีเอาใจลูกค้าด้วยประการต่าง ๆ  ฯลฯ
                ๒. มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา  จิตวิทยาวิเคราะห์ให้ทราบว่า  การเล่นคืออะไร  และบอกให้ทราบว่าเด็กคนไหนมีความเจริญทางจิตแค่ไหน    ควรเล่นอะไร จึงจะได้ประโยชน์  การให้กำลังใจในการเล่นกีฬาเป็นส่วนที่ช่วยให้คนเล่นกีฬาชนะเท่า ๆ กับกำลังกาย  ความรู้ในทางจิตวิทยาจะทำให้ครูพละศึกษาและหัวหน้าชุดกีฬาประเภทต่าง ๆ  สามารถปลุกกำลังใจของผู้เล่นได้ถนัดมือขึ้น  จิตวิทยาของคนดูกีฬา  ดูละคร  หรือฟังปาฐกถา  ก็เป็นสิ่งที่ผู้เล่นกีฬา  ผู้แสดงละคร   หรือแสดงปาฐกถาควรรู้ไว้
                ๓. จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น    ตามหลักจิตวิทยามีสิ่งสำคัญอยู่  ๓ ประการในเรื่องการปรับปรุงตัวเองให้เหมาะกับสังคม  (ก)  ความรู้ในเรื่องมรรยาทและเรื่องจารีตประเพณี  (ข)  ความรู้สำหรับทำตัวให้สนใจผู้อื่น (ค)  นิสัยที่จะคอยตรวจพิจารณา  และตีความพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ  ของผู้อื่น  เพื่อให้ทราบว่าเขามีท่าทีความรู้สึก  (ATTITUDE)   และอารมณ์อย่างไร
                ๔. การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา    เพราะกำลังใจของคนไข้เป็นส่วนที่แพทย์และนางพยาบาลต้องนึกถึงไม่น้อยว่าการรักษาพยาบาลด้วยยา  ทั้งแพทย์และนางพยาบาลต้องมีอัตลักษณ์  (CHARACTER)  ที่อดทนต่อการจู้จี้ของคนไข้ได้โดยไม่ให้มีเรื่องสะเทือนจิตใจของตัวเอง  และต้องมีกุศโลบายร้อยแปดเพื่อเอาใจคนไข้โดยมิให้เสียถึงหลักการรักษาพยาบาล
                ๕. จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการสืบพยาน  การสืบพยานเป็นเรื่องของจิตวิทยาเท่า ๆ  กับเป็นปัญหาทางกฎหมาย  ศาลห้ามทนายความไม่ให้ถามนำ  เพราะพยานมักจะรับการเสนอแนะจนทำให้ความจำเลอะเลือน   และไม่สามารถให้การได้ตามที่พยานรู้เห็นจริง ๆ  บางคนเอาสิ่งที่ตัวเห็นจริง ๆ ปนกับสิ่งที่ตัวนึกว่าเห็นโดยไม่มีเจตนาจะพูดเท็จ  เด็ก ๆ มักเป็นอย่างนี้  เพราะฉะนั้น  ศาลจึงไม่ถือว่าคำให้การของเด็กมีน้ำหนัก    การลงโทษจำเลยก็ต้องถือเอาเหตุจูงใจ   (MOTIVE)   เป็นเกณฑ์  การออกกฎหมายในรัฐสภา  มีเรื่องที่จะต้องนึกถึงในด้านจิตวิทยาของประชาชนไม้น้อย  เพราะจิตของ  กลุ่มชน”   ไม่ใช่จิตของอัตบุคคล  (INDIVIDUAL)   ทัณฑวิทยาใช้จิตวิทยามากที่สุดในการอบรมแก้ไขนักโทษให้กลับคือเป็นพลเมืองดี   ชีวะวิทยาได้ทดลองให้เห็นแจ้งแล้วว่า   นิสัยของบรรพบุรุษใกล้  ๆ  ไม่เป็นมรดกตกทอดทางสายโลหิตมาถึงลูกหลาน  ลูกโจรไม่จำเป็นต้องรับนิสัยโจรมาจากพ่อ  ถ้าพ่อไม่ได้เป็นผู้อบรม  นอกจากการเป็นโจรของพ่อเกิดจากความผิดปรกติทางสรีระวิทยาซึ่งอาจส่งผ่านสายโลหิตมาถึงลูกได้  เพราะฉะนั้นในทางทัณฑวิทยาเราจึงถือว่า  การให้การศึกษาใหม่ย่อมแก้นิสัยชั่วได้เสมอ
                ๖.  จิตวิทยาเป็นหัวใจของการโฆษณาประชาสัมพันธ์  และการโฆษณาชวนเชื่อ  (PROPAGANDA)   การโฆษณาที่มีศีลธรรมเป็นกุศโลบายที่พ่อค้าใช้เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบถึงคุณสมบัติ  ลักษณะ  และที่จำหน่ายของสินค้าที่จะขาย  และในเวลาเดียวกันชักชวนให้ประชาชนมาซื้อสินค้านั้น  คติของการโฆษณามีอยู่ว่า  ผู้โฆษณาต้องไม่กล่าวเท็จ  จิตวิทยาให้แต่เพียงหลักของการใช้ถ้อยคำที่มีอำนาจชักชวน   หลักของการใช้สีให้เป็นที่ชวนตาให้มอง  หลักของการวางแบบให้จำง่ายและนาน  และหลักการลงซ้ำเพื่อกันลืม  การโฆษณาเพื่อขายสินค้าเป็นธุระกับเอกชน  แต่การประชาสัมพันธ์และโฆษณาชวนเชื่อซึ่งมักเป็นงานของรัฐเป็นธุระกับมวลชน  และไม่ต้องคำนึงถึงลักษณะกลาง ๆ  ของมวลชน  เพราะไม่ว่ามวลชนจะมีสภาพเป็นอย่างไร  ประโยชน์ของชาติต้องยิ่งใหญ่กว่าเสมอ   ในการโฆษณาเพื่อขายสินค้า  ผู้โฆษณาต้องหาลักษณะกลาง ๆ  ของมวลชน  เพื่อเสนอเรื่องราวของสินค้าให้ถูกใจเอกชนให้มากคนที่สุด